วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์
ของ
ธัญสุดา  จิรกิตติยากร

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการวิจัยและพัฒนา มขั้นตอนการพัฒนาดังนี้ ขั้นที่ 1. สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และทดลองปริมาณโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1 ห้องเรียน
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอนโดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1 ห้องเรียน ที่โรงเรียนอนุบาลสามเสนนอก(ประชาราษฎร์นุกูล) กรุงเทพมหานคร ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย โรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร และขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งกลุ่มตัวอย่างของสถานศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลสามเสนนอก(ประชาราษฎร์นุกูล) โรงเรียนวัดโตนด และโรงเรียนสวัสดีวิทยา

      การคิดตรกกคณิตศาสตร์ หมายถึง กระบวนการคิดซึ่งใช้เหตุผลในการหาคำตอบ มีการคาดเดารวบรวมหลักฐานเพื่อหาข้อสรุปโดยเชื่อมโยงระหล่างความจริงและเหตุผล 
    
      ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. การจับคู่ สามารถรู้ว่าสิ่งใดที่เหมือนกันและสิ่งไดที่ต่างกัน
2. การเปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของ 2 กลุ่ม โดยการเปรียบเทียบ
แบบ 1 ต่อ 1 และไม่ควรใช้การนับจนกว่าเด็กจะมีความพร้อม
3. การจัดประเภทและการจัดหมวดหมู่ จัดประเภทและจัดของที่มีลักษณะเหมือนๆกัน เข้าพวก
4. การจัดเรียงลำดับ เปรียบเทียบลำดับและการจัดสิ่งของตสมลำดับพร้อมบอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง  ของ
5. การทำตามแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์รูปแบบ รูปทรง
6. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนทั้งหมด รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนทั้งหมด
7. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ บอกตำแหน่ง ระยะทางใกล้ไกลและทิศทางการเคลื่อนไหว
8. เวลา รู้จักบอกเกี่ยวกับเวลา เช่น นาน ช้า เร็ว วันนี้ ขณะนี้ ฯลฯ
9. จำนวนแสดงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนและสถิติรูปภาพ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น